วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

ประเทศอินเดีย




ประเทศอินเดีย


ธงชาติประเทศ

แผนที่ของประเทศ

แผนที่ทางภูมิศาสตร์

ประเทศอินเดีย ( India; ฮินดี: भारत) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; ฮินดี: भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดแปดร้อยภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา มีบังกลาเทศล้อมรอบทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ ของโลก                                   

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดีย                                                                                   การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดีย แบ่งอกเป็น สมัยโบราณ สมัยกลาง และสมัยใหม่ แต่ละยุคสมัยจำมีการแบ่งเป็นยุคสมัยย่อยตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์ที่มีอิทธิพลเหนืออินเดียขณะนั้น     
ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ                                                                                                                                            
ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณตั้งแต่สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยมีพวกดราวิเดียน เมื่อ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งอารยธรรมแห่งนี้ล่มสลายลงเมื่อ 1,500 ปีก่อนคริสต์สักราชเมื่อชนชาวอารยันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและก่อตั้งอาณาจักรหลายอาณาจักรในภาคเหนือของอินเดีย นับว่าเป็นช่วงเวลาที่การเริ่มสร้างสรรค์อารยธรรมอินเดียที่แท้จริง มีการก่อตั้งศาสนาต่าง ๆ เรียกว่า สมัยพระเวท (1,500 – 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช) สมัยมหากาพย์ (900 – 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ต่อมาอินเดียรวมตัวกันในสมัยราชวงศ์มคธ (600 – 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และมีการรวมตัวอย่างแท้จริงในสมัยราชวงศ์เมารยะ (321 - 184 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ระยะเวลานี้เป็นเวลาที่อินเดียเปิดเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่าง ๆ ต่อมาราชวงศ์เมารยะล่มสลายอินเดียก็เข้าสู่สมัยแห่งการแตกแยกและการรุกรานจากภายนอก จากพวกกรีกและพวกกุษาณะ รยะเวลานี้เป็นสมัยการผสมผสานทางวัฒนธรรมก่อนที่จะรวมเป็นจักรวรรดิได้อีกครั้งใน ค.ศ. 320 โดยราชวงศ์คุปตะ (สมัยคุปตะ ค.ศ. 320 – ค.ศ. 535)                                                                     
ความเจริญรุ่งเรื่องสมัยอินเดียโบราณ






ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยกลาง                                                                                                                                                               อินเดียเข้าสู่สมัยกลาง ค.ศ. 535 – ค.ศ. 1525 สมัยนี้เป็นช่วงเวลาของความวุ่นวายทางการเมือง และการรุกรานจากต่างชาติ โดยพาะชาวมุสลิม สมัยกลางจึงเป็นสมัยที่อารยธรรมมุสลิมเข้ามามีอิทธิพลในอินเดีย สมัยกลางแบ่งได้เป็นสมัยความแตกแยกทางการเมือง (ค.ศ. 535 – ค.ศ. 1200) และสมัยสุลต่านแห่งเดลลี (ค.ศ. 1200 – ค.ศ. 1526)




ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่                                                                                                                           พวกโมกุลได้ตั้งราชวงศ์โมกุลถือว่าสมัยโมกุล (ค.ศ. 1526 – ค.ศ. 1857) เป็นการเริ่มต้นสมัยใหม่จนกระทั่งอังกฤษเข้าปกครองอินเดียโดยตรงใน ค.ศ. 1585 จนถึง ค.ศ. 1947 อินเดียจึงได้รับเอกราชจากรปะเทศอังกฤษ ภายหลังได้รับเอกราชและถูกแบ่งออกเป็นประเทศต่าง ๆ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน และบังคลาเทศ (ค.ศ. 1971) ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมเปอร์เซียและวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในสังคมอินเดีย ขณะที่ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูได้ยึดมั่นในศาสนาของตนเองมากขึ้น และเกิดความแตกแยกในสังคมอินเดีย ดังนั้นประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่ สามารถแบ่งได้เป็นสมัยราชวงศ์โมกุล (ค.ศ. 1526 – ค.ศ. 1858) สมัยอังกฤษปกครองอินเดีย (ค.ศ. 1858 – ค.ศ. 1947)   อย่างไรก็ตามสมัยที่วัฒนธรรมมุสลิมเข้ามามีอิทธิพลในอารยธรรมอินเดียเรียกรวมว่า สมัยมุสลิม (ค.ศ. 1200 – ค.ศ. 1858) หมายถึง รวมสมัยสุลต่านแห่งเดลฮีกับสมัยราชวงศ์โมกุล
  

                                                                 

อินเดียในปัจจุบัน
     การปกครองของอินเดียเป็นระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา แยกศาสนาออกจากการเมือง แบ่งอำนาจการปกครองเป็นสาธารณรัฐ (Secular Democratic Republic with a parliamentary system) แบ่งเป็น ๒๘ รัฐ และดินแดนสหภาพ (Union Territories) อีก ๗ เขต การปกครองของอินเดียมีรัฐธรรมนูญเป็นแม่บท มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ และประมุขของฝ่ายบริหารตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ แต่อำนาจในการบริหารที่แท้จริงอยู่ที่นายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายประนาบ มุกเคอร์จี (Pranab Mukherjee) เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ในฐานะประธานาธิบดีคนที่ ๑๓ ส่วนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนายมานโมฮัน ซิงห์ (Manmohan Singh) ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมา ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ (เป็นสมัยที่ ๒)


    อินเดียมีความภาคภูมิใจในความเป็นประเทศ ประชาธิปไตยระบบรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วยจำนวนประชากรกว่า ๑.๒๒ พันล้านคน  โดยมีผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั่วไปครั้ง ล่าสุดเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม ๒๕๕๑ ถึง ๗๐๐ ล้านคน ซึ่งถือเป็นรากฐานที่สำคัญของการเมืองการปกครองของอินเดียนับตั้งแต่ได้รับเอกราชมาจนถึงปัจจุบัน






บุคคลที่โลกต้องจารึกไว้  ที่เป็นคนอินเดีย

 มหาตมา คานธี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น