ประเทศเนเธอร์แลนด์กับทวีปเอเซีย
เนเธอร์แลนด์เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน และมีสันติภาพยาวนานต่อเนื่องเป็นเวลา 250 ปี ต่อมา เมื่อจักรวรรดิโรมันเสื่อมอำนาจลง ชนเผ่า เยอรมันนิก และเคลติก ได้เข้าไปครอบครองพื้นที่แบบนั้น
ในช่วงปี พ.ศ. 1906 – 2025 เนเธอร์แลนด์อยู่ภายใต้การปกครองของดยุคแห่งเบอร์กันดี และในศตวรรษที่ 16 เนเธอร์แลนด์ถูกปกครองโดยสเปน ต่อมาเจ้าชายวิลเลียมแห่งออเรนจ์และขุนนางจำนวนหนึ่ง ได้ก่อการปฏิวัติต่อสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน เพื่อเรียกร้องให้ประชาชนเนเธอร์แลนด์และได้สถาปนาสาธารณรัฐดัตช์และ สามารถนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ได้ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2191 (ค.ศ. 1648) จึงได้มีการลงนามในสนธิสัญญามุนสเตอร์ เพื่อสงบศึกระหว่างเนเธอร์แลนด์และสเปน ซึ่งดำเนินมาถึง 80 ปี และถือเป็นการประกาศเอกราชของเนเธอร์แลนด์ด้วย
หลังจากได้ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิสเปน ชาวดัตช์ได้ร่วมกันฟื้นฟูประเทศจนในที่สุดได้เข้ามาสู่ยุคทอง เช่นเดียวกับ สเปน โปรตุเกส และสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นมหาอำนาจทาง ทะเลในการแสวงหาโอกาสทางการค้าในดินแดนต่างๆ ของโลก เนเธอร์แลนด์เป็นมหาอำนาจทางทะเลและเศรษฐกิจชั้นนำของยุโรปในเวลานั้น และกรุงอัมสเตอร์ดัมก็ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางการเงินของยุโรป จนมีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนถือให้เนเธอแลนด์เป็นประเทศระบอบทุนนิยมประเทศแรกของโลก
เมื่อปี พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) กองทัพปฏิวัติฝรั่งเศสนำโดยพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ได้กรีฑาทัพเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์ และในปี พ.ศ. 2353 (ค.ศ. 1810) เนเธอร์แลนด์ก็ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อจักรวรรดิฝรั่งเศสเสื่อมอำนาจลงเนเธอร์แลนด์จึงได้รับเอกราชคืนมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2357 (ค.ศ. 1814) โดยมีเบลเยียมเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ อย่างไรก็ดี เนื่องจากความแตกต่างในทุก ๆ ด้านระหว่างเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม ประเทศทั้งสอง จึงได้แยกออกจากกันอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839)
เนเธอร์แลนด์ประกาศความเป็นกลางในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2457 – 2461 และประกาศความเป็นกลางอีกครั้งหนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ดี กองทัพเยอรมนีได้รุกรานและยึดครองเนเธอร์แลนด์ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2483 – 2488 ปัจจุบันเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกที่มีบทบาทแข็งขันในสหภาพยุโรป และองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต
เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศเจ้าอาณานิคมจนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชจากการเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์เมื่อปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) และซูรินาเมประกาศเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) ส่วนเนเธอร์แลนด์อัลไทลิส และอารูบายัง คงเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ โดยมีอธิปไตยในการบริหารกิจการภายในประเทศ ส่วนด้านการทหารและการต่างประเทศยังอยู่ภายใต้ความควบคุมดูแลโดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์
สาเหตุของการสำรวจเส้นทางเดินเรือ
ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา(ค.ศ.1350-1650) ชาวยุโรปได้หันมาสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวอีกครั้งหนึ่ง การติดต่อกับโลกตะวันออกในสงครามครูเสด (ค.ศ.1096-1291)ซึ่งเป็นสงครามศาสนาระหว่างคริสต์ศาสนิกชนตะวันตกกับพวกมุสลิมในตะวันออกกลาง และการฟื้นตัวของเมืองที่เกิดขึ้นในระยะวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ชาวยุโรปมีโอกาสสัมผัสกับอารยธรรมของโลกตะวันออก วิชาความรู้ต่างๆโดยเฉพาะทางด้านปรัชญา คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และวิทยาการอื่นๆของกรีกและมุสลิมที่หลั่งไหลมาสู่สังมตะวันตก ทำให้ปัญญาชนเริ่มทบทวนและตรวจสอบความรู้ของตนมากขึ้น ตลอดจนท้าทายแนวความคิดทางธรรมชาติและจักรวาล วิทยาของคริสย์ศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาในสมัยกลาง ตำนานเกี่ยวกับสัตว์ร้ายในโพ้นทะเลที่คอยจ้องทำลายเรือเดินทะเล หรือความเชื่อว่าโลกแบนนและเรือที่แล่นไปในท้องทะเลที่เวิ้งว้างอาจตกขอบโลกได้นั้นกลายเป็นเรื่องราวที่เหลวไหลไร้สาระ บรรยากาศของการแสวงหาและค้นหาคำตอบให้กับตนเองกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวได้ ผลักดันให้ชาวยุโรปในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาหันมาสนใจต่อความลี้ลับของท้องทะเลที่กั้นขวางพวกเขากับโลกของชาวตะวันออก โดยเฉพาะความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของ โตเลมี (Ptolemy) นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ที่แสดงให้เห็นถึงที่ตั้งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนดินแดนริมฝั่งทะเลของคาบสมุทรไอบีเรียเรื่อยลงไปทางตอนใต้จนถึงดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลที่ขยายไปถึงอินเดียและจีน ส่วนทางตะวันตกของทวีปยุโรปและทางตะวันออกของจีนนั้นก็เป็นทะเลทั้งหมด และทะเลดังกล่าวนี้ก็ติดต่อเชื่อมโยงถึงกันหมด นอกจากนี้ยังมีผืนดินทางโลกใต้ซึ่งแผ่จากขั้วโลกใต้จนถึงเขตร้อน และมีอาณาเขตกว้างขวางทำนองเดียวกับแผ่นดินทางซีกโลกเหนือ ความสนใจดังกล่าวได้ทวีมากขึ้น เมื่อพวกมุสลิมสามารถยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล(ปัจจุบัน คือ นครอิสตันบูลในประเทศตุรกี)และดินแดนจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้ทั้งหมด ในค.ศ.1453 ซึ่งมีผลกระทบให้การค้าทางบกระหว่างตะวันตกชะงักงั้น แต่สินค้าต่างๆจากตะวันออก เช่น ผ้าไหม เครื่องเทศ ยารักษาโรค น้ำตาลยังเป็นที่ต้องการของตลาดตะวันตกและสามารถทำกำไรอย่างสูงให้แก่พ่อค้า ดังนั้น หนทางเดียวที่พ่อค้าจะสามารถรักษาและตักตวงผลประโยชน์ดังกล่าวไว้ได้ก็คือ การติดต่อค้าขายทางทะเลเท่านั้น นอกจากนี้ ความรู้ในการใช้เข็มทิศและการพัฒนารูปทรงและขนาดเรือให้มีความเหมาะสมและมีความคงทนแน่นหนาขึ้น พร้อมติดตั้งอาวุธปืนใหญ่ ทำให้ชาติตะวันออกต่างๆต้องยินยอมเปิดสัมพันธไมตรีด้วย และมีผลให้อิทธิพลของชาติตะวันตกหลั่งไหลสู่โลกตะวันออกได้อย่างกว้างขวาง นอกจากเครื่องเทศที่เป็นสินค้าหลักที่พ่อค้าตะวันตกต้องการเพื่อใช้เก็บถนอมอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ให้มีอายุยืนนาน และใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสชาติดีขึ้นแล้ว ชาติตะวัตกยังมุ่งแสวงหาแหล่งแร้เงินและแร่ทองคำซึ่งเชื่อว่ามีอยู่มากมายทางซีกโลกใต้ เพื่อนำไปใช้ซื้อสิ่งของต่างๆจากประเทศทางตะวันออก และใช้จ่ายเป็นค่าจ้างทหารและเจ้าหน้าที่รัฐต่าง
การเข้ามาของฮอลันดาในเอเชีย
ฮอลันดาเป็นชาติที่มีความสามารถมากในการต่อเรือและการเดินเรือ ฮอลันดาซึ่งเดิมอยู่ใต้อำนาจของสเปน สามารถปลดแอกจากสเปนได้สำเร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๑ จึงได้ทำการค้ากับประเทศต่างๆ ในยุโรปเหนือ โดยผ่านเมืองลิสบอน เมืองหลวงของโปรตุเกส จนกระทั่งเมื่อสเปนและโปรตุเกสประกาศว่าไม่ยอมให้ฮอลันดาทำการค้าขายด้วย ทำให้ฮอลันดาต้องเปลี่ยนทิศทางมายังหมู่เกาะเครื่องเทศ โดยมีจุดประสงค์ที่จะทำการค้าเครื่องเทศกับภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ไม่คิดที่จะทำการเผยแผ่คริสต์คาสนาเช่นเดียวกับสเปนและโปรตุเกส ฮอลันดาสนใจทางการค้ามากกว่าการเข้าปกครองดินแดนนั้น ๆ ฮอลันดามีบริษัทการค้ามากมายและ ใน พ.ศ. ๒๑๔๕ บริษัทการค้าของฮอลันดาประมาณ ๕๐ บริษัท ได้รวมตัวกันจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา นับเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอาณานิคมสมัยใหม่ที่อาศัยการค้าเป็นสำคัญ บริษัทเหล่านี้เป็นกึ่งราชการ มีอำนาจทางการค้า การเมือง การปกครอง การตัดสินใจในการแก้ปัญหาต่างๆ ตลอดจนการทำสงครามและการทำสนธิสัญญา มีการสร้างป้อมปราการและมีกองทหารประจำบริษัท บริษัทของออลันดาได้เปรียบกว่าบริษัทของชาติคู่แข่งในเวลานั้น พ.ศ. ๒๑๖๒ ฮอลันดาได้ครอบครองเมืองปัตตาเวีย ( เมืองจาร์กาตาในปัจจุบัน ) ในเกาะชวา และใน พ.ศ. ๒๑๘๔ ได้เข้ายึดมะละกาของโปรตุเกส ต่อมาได้ขยายสถานีการค้าไปในเกาะชวา สุมาตรา หมู่เกาะโมลุกกะ เกาะบอร์เนียว เซลีเบส ตลอดจนแหลมมลายู
การที่มีอำนาจผูกขาดในหมู่เกาะอินดีสตะวันออก ในขณะที่ชาวพื้นเมืองรบพุ่งกันอยู่ได้เปิดโอกาสให้ฮอลันดาเข้าแทรกแซงกิจการภายในและขยายอิทธิพลของตนได้สะดวกขึ้น ต่อมาบริษัทเสื่อมลงเนื่องจากเกินการฉ้อโกงในบริษัท เจ้าหน้าที่ของบริษัททำการค้าขายส่วนตัวทำให้บริษัทขาดทุนและมีหนี้สินมาก รัฐบาลจึงยุบบริษัทและเข้าปกครองหมู่เกาะอินดีสตะวันออกโดยตรง
ประเทศไทย กับ ฮอลันดา
ช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 อิทธิพลทางการค้าของโปรตุเกสในเอเชียลดน้อยลงไปอย่างมาก เนื่องจากประเทศโปรตุเกสถูกประเทศสเปนยึดครองระหว่าง พ.ศ. 2123 จนถึง พ.ศ.2183 ทำให้ฮอลันดาและอังกฤษได้ก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของตนขึ้น เพื่อผูกขาดการค้าในแถบตะวันออก บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาได้รับมอบเอกสิทธิ์ในการเจรจาทางการค้ากับเจ้าผู้ปกครองชาวพื้นเมืองต่างๆ และมีกองทหารและกองเรือรบเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ทางการค้าในที่สุดฮอลันดาสามารถตั้งสถานีการค้าขั้นที่เมืองปัตตาเวียเพื่อเป็นศูนย์กลางการดำเนินการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกทั้งหมด
ฮอลันดาเข้าติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกใน พ.ศ. 2147 โดยผ่านเมืองปัตตานีประเทศราชของเมืองปัตตานีในขณะนั้น จุดมุ่งหมายสำคัญของฮอลันดา คือต้องการซื้อสินค้าจากจีนและหาช่องทางเข้าไปค้าขายในประเทศจีน โดยอาศัยเรือสำเภาของไทย แต่ไทยยินดีต้อนรับเฉพาะเรื่องที่ชาวฮอลันดาจะเข้ามาค้าขายเท่านั้นดังนั้นบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาจึงผิดหวังสามารถอาศัยเรื่อสำเภาของอยุธยาเข้าไปค้าขายยังประเทศจีนได้ แต่ฮอลันดาก็ยังสนใจที่อยู่หาลู่ทางการค้าที่กรุงศรี-อยุธยาต่อไปทั้งนี้เนื่องจากอยุธยามีสินค้ามากมายทั้งสินค้าประเภทของป่าและธัญญาหาร เช่น ไม้ยาง ไม้กฤษณา ดีบุก หนังสัตว์ น้ำมันมะพร้าว และข้าว ชาวฮฮลันดาจึงเห็นประโยชน์จากการเข้ามาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยาและตั้งสถานีการค้าที่กรุงศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ. 2151-2308
ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดากับราชสำนักอยุธยาในปลาย พุทธศตวรรษที่ 22 รุ่งเรืองมาก คณะทูตไทยเดินทางไปกรุงเฮก ถวายพระราชสาสน์แด่กษัตริย์ฮอลันดาใน พ.ศ. 2151 นับเป็นคณะทูตไทยชุดแรกที่เดินทางไปถึงทวีปยุโรปของฮอลันดา ทำให้เกิดขัดแย้งกับผลประโยชน์และระบบการค้าผูกขาดพระคลังสินค้าของอยุธยา หลายครั้งที่ฮอลันดาขอสิทธิผูกขาดในการส่งสินค้าออก เช่น หนังกวาง ดีบุก แต่มักจะไม่มีผลในทางปฏิบัติทำให้ฮอลันดาไม่พอใจ บางครั้งเกิดกรณีการขัดแย้งกันจนถึงขั้นฮอลันดานำกองเรือปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา แต่เมื่อความขัดแย้งสิ้นสุด ลงบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาก็ทำการค้ากับอยุธยาต่อไป
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 การค้าของฮอลันดาที่กรุงศรีอยุธยาค่อยๆ ลดความสำคัญลง เพราะมีอุปสรรคนานาประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าและการต่างประเทศของพระมหากษัตริย์อยุธยา และความผันผวนทางการเมืองในราชสำนัก ประกอบกับสภาวการณ์ทางการค้าในยุโรปและเอเชียตะวันออกเปลี่ยนแปลง สถานการณ์ทางการเงินของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาไม่อำนวยและมีปัญหา ฮอลันดาจึงค่อยๆถอนตัวจากการค้าที่กรุงศรีอยุธยา
อินโดนีเซีย – ฮอลันดา
ฮอลันดา (ดัช) สนใจประเทศอินโดนีเซียเนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของเครื่องเทศที่มีคุณภาพ ต้องการผูกขาดการค้าเครื่องเทศและกาแฟ จากการแข่งขันทางการค้าในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศตวรรษที่ ๑๖ – ๒๐ ทำให้ รัฐบาลฮอลันดาร่วมทุนกับบริษัทของการค้าใหญ่ตามเมืองท่าต่างๆ ของฮอลันดา ก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (V.O.C.) ขึ้นในวันที่ ๒๐ มีนาคม ค.ศ. ๑๖๐๒ ดำเนินกิจการในรูปแบบกิจการรัฐวิสาหกิจ ตั้งสถานีการค้าขึ้นที่บันทัม เนื่องจากนโยบายของผู้ปกครองบันทัมยินดีต้อนรับพ่อค้าต่างชาติ พ่อค้าคนแรกของดัชคือ สตีเวน แวนเดอร์ ฮาเกน ได้ทำสัญญาผูกขาดการค้ากานพลู ในนามของพ่อค้าสมาคมชาวดัช การค้าในแต่ละเมืองจะจัดส่งเรือออกไปอย่างเป็นอิสระ โดยผลกำไรและขาดทุนจะมาเฉลี่ยทั่วกัน ในที่สุด V.O.C. ก็เข้าควบคุมโรงเก็บสินค้าทั้งหมดที่ฮอลันดาตั้งขึ้นเช่นที่เกาะเทอร์เนตใน หมู่เกาะโมลุกะ บันดา บันทัม และกรีสิกริมฝั่งชวาเหนือ ปัตตานี ยะโฮร์บนแหลมมาลายูและอาเจะห์ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสุมาตรา พ.ศ. 2145 เป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าปกครองอินโดนีเซียในฐานะอาณานิคมของดัชท์ ในช่วงแรก บริษัท VOC ใช้วิธีเข้าไปมีอิทธิพลเหนือผู้ปกครองท้องถิ่น ต่อมา ใน พ.ศ. 2342 หลังจาก รัฐบาลฮอลันดาเข้าควบคุมกิจการบริษัท VOC รัฐบาลฮอลันดาก็ได้เข้าปกครองอินโดนีเซียในรูปแบบอาณานิคม
สภาพการเมืองของอินโดนีเซียก่อนการเข้ามาของฮอลันดา การเมืองแตกแยกเป็นรัฐเล็กๆ สุลต่านเป็นประมุขสูงสุดในการปกครองและศาสนา ทำให้ประชาชนเคารพและจงรักภักดีต่อสุลต่าน เนื้อที่พื้นดินของอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่ไปด้วยป่าดงดิบหนาแน่น ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินมีการขึ้นเรื่อยๆ จากการระเบิดของภูเขาไฟ เช่น บนเกาะชวานั้นเต็มไปด้วยภูเขาไฟ ภายหลังจากการระเบิด ลาวาของภูเขาไฟมีแร่ธาตุที่ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
ค.ศ. ๑๘๑๖ อังกฤษคืนชวาให้กับดัช ดัชกลับเข้ามาปกครองอินโดนีเซียอีกครั้ง ซึ่งสถานะทางการเงินยังทรุดหนัก การค้าในหมู่เกาะอินโดนีเซียไม่มั่นคง รัฐบาลฮอลันดาจึงเข้าปกครองชวา และหมู่เกาะเครื่องเทศอย่างใกล้ชิด และพยายามแทรกแซงการปกครองภายใน ทำให้อินโดนีเซียตั่งแต่ ค.ศ. ๑๘๑๖ ถึงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ต้องตกเป็นอาณานิคมของฮอลันดาอย่างสมบูรณ์
แหล่งอ้างอิง
ดี.อี.จี. ฮอลล์.
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : สุวรรณภูมิ – อุษาคเนย์ภาคพิสดาร
เล่ม ๑ –
เล่ม ๒.
ในมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ.
ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์. ๒๕๔๙.
ภูวดล ทรงประเสริฐ. อินโดนีเซีย :
อดีตและปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย. ๒๕๓๙.
ศิวพร ชัยประสิทธิกุล, ผศ. ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอดีตถึงปัจจุบันโดยสังเขป.
พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ๒๕๕๐.
“_____________”. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายหลังการเข้ามาของชาติตะวันตกถึงภายหลัง
สงครามโลกครั้งที่ ๒. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ๒๕๓๐.
สถานเอกอัคราชทูตอินโดนีเซีย.
อินโดนีเซียโดยสังเขป. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : สถาณเอกอัคราชทูต
อินโดนีเซีย, ๒๕๒๒.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น