วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

ม๊อบสวนยาง คือ เสียงจากคนในสังคม หรือ ปัญหาของสังคม

   


ม๊อบสวนยาง






ม็อบสวนยาง(ควนหนองหงส์) ดูท่าจะจบลงยาก เพราะ...?                               ที่เวทีการนำม็อบควนหนองหงส์ ได้ "มีการช่วงชิงการนำ"ของการเมืองท้องถิ่นหลายฝ่าย เนื่องจากจะมีการเลือกตั้งในสนามท้องถิ่นช่วงปลายปีนี้ มีการปฏิเสธ "ตัวแทนหรือคนกลาง" ที่เป็น สส.ในพื้นที่ (สส. ปชป. จังหวัดนครศรีธรรมราช) กลุ่มชาวสวนยางที่เป็น"ชาวสวนยางจริงๆ" มีทั้ง 2 ฟากฝั่งถนนสายเอเชีย (โดยเฉพาะชาวสวนยางจากฟากตะวันตกจากถนนสาย 41 ไปจรดเทือกเขาบรรทัด และฟากตะวันออกถนนสาย 41) การมีคำสั่งจังหวัดฯ ประกาศห้ามประชาชนเข้าพื้นที่ของศูนย์อำนวยการฯ (ของจังหวัดนครศรีธรรมราช) ยิ่งเป็นการยั่วยุให้เกิดความท้าทายต่ออำนาจรัฐ  ผู้ชุมนุมยิ่งเข้าใจว่า จะมีการเข้าสลายจึงต้องออกมาช่วยกันมากๆ การขอคืนพื้นที่ (คำที่ฝ่ายรัฐใช้) หรือการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้ปฏิบัติตามหลักสากลอย่างแท้จริง     สื่อ, นักปกครอง, ตร., การเมือง ฯลฯ ต่างฝ่ายต่างพูดถึงบริบทและนำเสนอมุมมองของตนเอง ต่างฝ่ายต่างมีส่วนเติมเชื้อไฟ แล้วป้ายความผิดให้แก่ "เกษตรกรชาวสวนยาง" บางฝ่ายอ้างว่า "ม็อบไม่ใช่เกษตรกรชาวสวนยางจริง การบัญชาการจากส่วนหลางทั้งในรัฐบาล(ในเรื่องราคายาง) และ สตช. (ในเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อย) ล้วนเป็นเงื่อนไขและสร้างความอึดอัด คับข้องใจให้แก่ประชาชนที่ออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมทั้งสองเรื่องที่กล่าวนี้  การบัญชาการจากส่วนหลางทั้งในรัฐบาล(ในเรื่องราคายาง) และ สตช. (ในเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อย) ล้วนเป็นเงื่อนไขและสร้างความอึดอัด คับข้องใจให้แก่ประชาชนที่ออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมทั้งสองเรื่องที่กล่าว นี้    สื่อกระแสหลักไม่ได้รับความเชื่อถือจากกลุ่มผู้ชุมนุม จึงเข้าพื้นที่ไม่ได้ แต่อาศัยการ"ยืนอยู่ข้างหลัง ตร." และ"แชร์ข่าว"ต่อๆ กัน     ฝ่ายปกครอง ตลอดจนฝ่ายความมั่นคงอ้างแต่เพียงว่าม้อบมีการเมืองหนุนหลัง แต่ไม่ย้อนมองมาที่ตนเองว่ามีส่วนในการใช้ความรุนแรงตร. อ้างเหตุผลความวุ่นวายที่เกิดขึ้นว่ามีเหตุผลพอในการใช้กำลังจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเข้าไปสลายการชุมนุม แต่ถูกผู้ชุมนุมตีโต้กลับคืน การเจรจาเรื่องการประกันราคายางและการช่วยเหลือชาวสวนยางก็เป็น"การช่วงชิงบทบาทการนำ"ของผู้ประสานภาคีเครือข่ายฯ(บางคน) ทำให้การเจรจาต้องยุติลงไปตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ ซึ่งกลายเป็น"ข้ออ้าง"ของรัฐบาลที่จะไม่ยอมเจรจากับฝ่ายใดอีก

        นี่เป็นข้อมูลที่รวบร่วมมา แต่ ในทัศนคติส่วนตัว  ปัญหาม๊อปชาวยางเป็นปัญหาที่สำคัญ พารัฐต้องรีบเร่งแก้ไขปัญหา  ซึ่งพารัฐก็ได้ดำเนินการไปอย่างถูกวิธีโดยการเปิดโต๊ะเจรจากับผู้ชุมนุม และมีข้อตกลงกัน  แต่ต้องนี้เกิดอะไรขึ้น มีการชุมนุมอีกครั้ง กระทบไป ทั้วประเทศ ทั้งเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ  การชุมนุมครั้งนี้ผมก็มีเพื่อนอยู๋ภาคใต้เป็นจำนวนมาก เขาก็บอกว่ามีหลายคนออกมาเพราะ ต้องการเรียกร้องความเป็นธรรม  ในแก่ผู้ชุมนุม  แต่ตอนนี้การเกิดความรุนแรงไม่ใช่ทางออกที่ถูก ผมเชื่อว่าภาครัฐก็อยากจะจบเรื่องนี้  ส่วนของประชาชนก็อยากจะยุติ  เพราะฉะนั้นพบกันครึ่งทางเพื่อ คว่ามพอดี  พอประมาณ พอเพียง นึกถึงประเทศเป็นสำคัญ ไม่ใช่อะไรก็ประท้วง อะไรก็ไม่สนใจ ประชาชน  ดังนั้น  ประเทศเราจะเดินไปได้ นั้น คนในชาติต้องพร้อมที่จะเดินไปพร้อมกันด้วยความสามัคคี ครับ

ขอขอบคุณ
             แหล่งข้อมูล http://www.oknation.net/blog/nn1234/2013/09/17/entry-1

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

ประเทศเนเธอร์แลนด์กับทวีปเอเซีย

ประเทศเนเธอร์แลนด์กับทวีปเอเซีย



เนเธอร์แลนด์เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน และมีสันติภาพยาวนานต่อเนื่องเป็นเวลา 250 ปี ต่อมา เมื่อจักรวรรดิโรมันเสื่อมอำนาจลง ชนเผ่า   เยอรมันนิก และเคลติก ได้เข้าไปครอบครองพื้นที่แบบนั้น
ในช่วงปี พ.ศ. 1906 – 2025 เนเธอร์แลนด์อยู่ภายใต้การปกครองของดยุคแห่งเบอร์กันดี และในศตวรรษที่ 16 เนเธอร์แลนด์ถูกปกครองโดยสเปน ต่อมาเจ้าชายวิลเลียมแห่งออเรนจ์และขุนนางจำนวนหนึ่ง ได้ก่อการปฏิวัติต่อสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน เพื่อเรียกร้องให้ประชาชนเนเธอร์แลนด์และได้สถาปนาสาธารณรัฐดัตช์และ สามารถนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ได้ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2191 (ค.ศ. 1648) จึงได้มีการลงนามในสนธิสัญญามุนสเตอร์ เพื่อสงบศึกระหว่างเนเธอร์แลนด์และสเปน ซึ่งดำเนินมาถึง 80 ปี และถือเป็นการประกาศเอกราชของเนเธอร์แลนด์ด้วย
หลังจากได้ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิสเปน ชาวดัตช์ได้ร่วมกันฟื้นฟูประเทศจนในที่สุดได้เข้ามาสู่ยุคทอง เช่นเดียวกับ สเปน โปรตุเกส และสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นมหาอำนาจทาง ทะเลในการแสวงหาโอกาสทางการค้าในดินแดนต่างๆ ของโลก เนเธอร์แลนด์เป็นมหาอำนาจทางทะเลและเศรษฐกิจชั้นนำของยุโรปในเวลานั้น และกรุงอัมสเตอร์ดัมก็ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางการเงินของยุโรป จนมีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนถือให้เนเธอแลนด์เป็นประเทศระบอบทุนนิยมประเทศแรกของโลก
เมื่อปี พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) กองทัพปฏิวัติฝรั่งเศสนำโดยพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ได้กรีฑาทัพเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์ และในปี พ.ศ. 2353 (ค.ศ. 1810) เนเธอร์แลนด์ก็ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อจักรวรรดิฝรั่งเศสเสื่อมอำนาจลงเนเธอร์แลนด์จึงได้รับเอกราชคืนมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2357 (ค.ศ. 1814) โดยมีเบลเยียมเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ อย่างไรก็ดี เนื่องจากความแตกต่างในทุก ๆ ด้านระหว่างเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม ประเทศทั้งสอง จึงได้แยกออกจากกันอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839)
เนเธอร์แลนด์ประกาศความเป็นกลางในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2457 – 2461 และประกาศความเป็นกลางอีกครั้งหนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ดี กองทัพเยอรมนีได้รุกรานและยึดครองเนเธอร์แลนด์ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2483 – 2488 ปัจจุบันเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกที่มีบทบาทแข็งขันในสหภาพยุโรป และองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต
เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศเจ้าอาณานิคมจนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชจากการเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์เมื่อปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) และซูรินาเมประกาศเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) ส่วนเนเธอร์แลนด์อัลไทลิส และอารูบายัง คงเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ โดยมีอธิปไตยในการบริหารกิจการภายในประเทศ ส่วนด้านการทหารและการต่างประเทศยังอยู่ภายใต้ความควบคุมดูแลโดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์

สาเหตุของการสำรวจเส้นทางเดินเรือ





ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา(ค.ศ.1350-1650) ชาวยุโรปได้หันมาสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวอีกครั้งหนึ่ง การติดต่อกับโลกตะวันออกในสงครามครูเสด (ค.ศ.1096-1291)ซึ่งเป็นสงครามศาสนาระหว่างคริสต์ศาสนิกชนตะวันตกกับพวกมุสลิมในตะวันออกกลาง และการฟื้นตัวของเมืองที่เกิดขึ้นในระยะวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ชาวยุโรปมีโอกาสสัมผัสกับอารยธรรมของโลกตะวันออก วิชาความรู้ต่างๆโดยเฉพาะทางด้านปรัชญา คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และวิทยาการอื่นๆของกรีกและมุสลิมที่หลั่งไหลมาสู่สังมตะวันตก ทำให้ปัญญาชนเริ่มทบทวนและตรวจสอบความรู้ของตนมากขึ้น ตลอดจนท้าทายแนวความคิดทางธรรมชาติและจักรวาล วิทยาของคริสย์ศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาในสมัยกลาง ตำนานเกี่ยวกับสัตว์ร้ายในโพ้นทะเลที่คอยจ้องทำลายเรือเดินทะเล หรือความเชื่อว่าโลกแบนนและเรือที่แล่นไปในท้องทะเลที่เวิ้งว้างอาจตกขอบโลกได้นั้นกลายเป็นเรื่องราวที่เหลวไหลไร้สาระ บรรยากาศของการแสวงหาและค้นหาคำตอบให้กับตนเองกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวได้ ผลักดันให้ชาวยุโรปในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาหันมาสนใจต่อความลี้ลับของท้องทะเลที่กั้นขวางพวกเขากับโลกของชาวตะวันออก โดยเฉพาะความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของ โตเลมี (Ptolemy) นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ที่แสดงให้เห็นถึงที่ตั้งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนดินแดนริมฝั่งทะเลของคาบสมุทรไอบีเรียเรื่อยลงไปทางตอนใต้จนถึงดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลที่ขยายไปถึงอินเดียและจีน ส่วนทางตะวันตกของทวีปยุโรปและทางตะวันออกของจีนนั้นก็เป็นทะเลทั้งหมด และทะเลดังกล่าวนี้ก็ติดต่อเชื่อมโยงถึงกันหมด นอกจากนี้ยังมีผืนดินทางโลกใต้ซึ่งแผ่จากขั้วโลกใต้จนถึงเขตร้อน และมีอาณาเขตกว้างขวางทำนองเดียวกับแผ่นดินทางซีกโลกเหนือ ความสนใจดังกล่าวได้ทวีมากขึ้น เมื่อพวกมุสลิมสามารถยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล(ปัจจุบัน คือ นครอิสตันบูลในประเทศตุรกี)และดินแดนจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้ทั้งหมด ในค.ศ.1453 ซึ่งมีผลกระทบให้การค้าทางบกระหว่างตะวันตกชะงักงั้น แต่สินค้าต่างๆจากตะวันออก เช่น ผ้าไหม เครื่องเทศ ยารักษาโรค น้ำตาลยังเป็นที่ต้องการของตลาดตะวันตกและสามารถทำกำไรอย่างสูงให้แก่พ่อค้า ดังนั้น หนทางเดียวที่พ่อค้าจะสามารถรักษาและตักตวงผลประโยชน์ดังกล่าวไว้ได้ก็คือ การติดต่อค้าขายทางทะเลเท่านั้น นอกจากนี้ ความรู้ในการใช้เข็มทิศและการพัฒนารูปทรงและขนาดเรือให้มีความเหมาะสมและมีความคงทนแน่นหนาขึ้น พร้อมติดตั้งอาวุธปืนใหญ่ ทำให้ชาติตะวันออกต่างๆต้องยินยอมเปิดสัมพันธไมตรีด้วย และมีผลให้อิทธิพลของชาติตะวันตกหลั่งไหลสู่โลกตะวันออกได้อย่างกว้างขวาง นอกจากเครื่องเทศที่เป็นสินค้าหลักที่พ่อค้าตะวันตกต้องการเพื่อใช้เก็บถนอมอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ให้มีอายุยืนนาน และใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสชาติดีขึ้นแล้ว ชาติตะวัตกยังมุ่งแสวงหาแหล่งแร้เงินและแร่ทองคำซึ่งเชื่อว่ามีอยู่มากมายทางซีกโลกใต้ เพื่อนำไปใช้ซื้อสิ่งของต่างๆจากประเทศทางตะวันออก และใช้จ่ายเป็นค่าจ้างทหารและเจ้าหน้าที่รัฐต่าง

การเข้ามาของฮอลันดาในเอเชีย



ฮอลันดาเป็นชาติที่มีความสามารถมากในการต่อเรือและการเดินเรือ ฮอลันดาซึ่งเดิมอยู่ใต้อำนาจของสเปน สามารถปลดแอกจากสเปนได้สำเร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๑ จึงได้ทำการค้ากับประเทศต่างๆ ในยุโรปเหนือ โดยผ่านเมืองลิสบอน เมืองหลวงของโปรตุเกส จนกระทั่งเมื่อสเปนและโปรตุเกสประกาศว่าไม่ยอมให้ฮอลันดาทำการค้าขายด้วย ทำให้ฮอลันดาต้องเปลี่ยนทิศทางมายังหมู่เกาะเครื่องเทศ โดยมีจุดประสงค์ที่จะทำการค้าเครื่องเทศกับภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ไม่คิดที่จะทำการเผยแผ่คริสต์คาสนาเช่นเดียวกับสเปนและโปรตุเกส ฮอลันดาสนใจทางการค้ามากกว่าการเข้าปกครองดินแดนนั้น ๆ ฮอลันดามีบริษัทการค้ามากมายและ ใน พ.ศ. ๒๑๔๕ บริษัทการค้าของฮอลันดาประมาณ ๕๐ บริษัท ได้รวมตัวกันจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา นับเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอาณานิคมสมัยใหม่ที่อาศัยการค้าเป็นสำคัญ บริษัทเหล่านี้เป็นกึ่งราชการ มีอำนาจทางการค้า การเมือง การปกครอง การตัดสินใจในการแก้ปัญหาต่างๆ ตลอดจนการทำสงครามและการทำสนธิสัญญา มีการสร้างป้อมปราการและมีกองทหารประจำบริษัท บริษัทของออลันดาได้เปรียบกว่าบริษัทของชาติคู่แข่งในเวลานั้น พ.ศ. ๒๑๖๒ ฮอลันดาได้ครอบครองเมืองปัตตาเวีย ( เมืองจาร์กาตาในปัจจุบัน ) ในเกาะชวา และใน พ.ศ. ๒๑๘๔ ได้เข้ายึดมะละกาของโปรตุเกส ต่อมาได้ขยายสถานีการค้าไปในเกาะชวา สุมาตรา หมู่เกาะโมลุกกะ เกาะบอร์เนียว เซลีเบส ตลอดจนแหลมมลายู
การที่มีอำนาจผูกขาดในหมู่เกาะอินดีสตะวันออก ในขณะที่ชาวพื้นเมืองรบพุ่งกันอยู่ได้เปิดโอกาสให้ฮอลันดาเข้าแทรกแซงกิจการภายในและขยายอิทธิพลของตนได้สะดวกขึ้น ต่อมาบริษัทเสื่อมลงเนื่องจากเกินการฉ้อโกงในบริษัท เจ้าหน้าที่ของบริษัททำการค้าขายส่วนตัวทำให้บริษัทขาดทุนและมีหนี้สินมาก รัฐบาลจึงยุบบริษัทและเข้าปกครองหมู่เกาะอินดีสตะวันออกโดยตรง

ประเทศไทย กับ ฮอลันดา



ช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 อิทธิพลทางการค้าของโปรตุเกสในเอเชียลดน้อยลงไปอย่างมาก  เนื่องจากประเทศโปรตุเกสถูกประเทศสเปนยึดครองระหว่าง พ.ศ. 2123 จนถึง พ.ศ.2183  ทำให้ฮอลันดาและอังกฤษได้ก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของตนขึ้น เพื่อผูกขาดการค้าในแถบตะวันออก  บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาได้รับมอบเอกสิทธิ์ในการเจรจาทางการค้ากับเจ้าผู้ปกครองชาวพื้นเมืองต่างๆ และมีกองทหารและกองเรือรบเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ทางการค้าในที่สุดฮอลันดาสามารถตั้งสถานีการค้าขั้นที่เมืองปัตตาเวียเพื่อเป็นศูนย์กลางการดำเนินการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกทั้งหมด
ฮอลันดาเข้าติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกใน พ.ศ. 2147 โดยผ่านเมืองปัตตานีประเทศราชของเมืองปัตตานีในขณะนั้น  จุดมุ่งหมายสำคัญของฮอลันดา คือต้องการซื้อสินค้าจากจีนและหาช่องทางเข้าไปค้าขายในประเทศจีน โดยอาศัยเรือสำเภาของไทย     แต่ไทยยินดีต้อนรับเฉพาะเรื่องที่ชาวฮอลันดาจะเข้ามาค้าขายเท่านั้นดังนั้นบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาจึงผิดหวังสามารถอาศัยเรื่อสำเภาของอยุธยาเข้าไปค้าขายยังประเทศจีนได้  แต่ฮอลันดาก็ยังสนใจที่อยู่หาลู่ทางการค้าที่กรุงศรี-อยุธยาต่อไปทั้งนี้เนื่องจากอยุธยามีสินค้ามากมายทั้งสินค้าประเภทของป่าและธัญญาหาร เช่น ไม้ยาง ไม้กฤษณา  ดีบุก หนังสัตว์  น้ำมันมะพร้าว และข้าว  ชาวฮฮลันดาจึงเห็นประโยชน์จากการเข้ามาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยาและตั้งสถานีการค้าที่กรุงศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ. 2151-2308    
ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดากับราชสำนักอยุธยาในปลาย   พุทธศตวรรษที่ 22 รุ่งเรืองมาก  คณะทูตไทยเดินทางไปกรุงเฮก  ถวายพระราชสาสน์แด่กษัตริย์ฮอลันดาใน พ.ศ. 2151 นับเป็นคณะทูตไทยชุดแรกที่เดินทางไปถึงทวีปยุโรปของฮอลันดา  ทำให้เกิดขัดแย้งกับผลประโยชน์และระบบการค้าผูกขาดพระคลังสินค้าของอยุธยา  หลายครั้งที่ฮอลันดาขอสิทธิผูกขาดในการส่งสินค้าออก  เช่น หนังกวาง  ดีบุก  แต่มักจะไม่มีผลในทางปฏิบัติทำให้ฮอลันดาไม่พอใจ  บางครั้งเกิดกรณีการขัดแย้งกันจนถึงขั้นฮอลันดานำกองเรือปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา  แต่เมื่อความขัดแย้งสิ้นสุด ลงบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาก็ทำการค้ากับอยุธยาต่อไป
         ในช่วงพุทธศตวรรษที่  23  การค้าของฮอลันดาที่กรุงศรีอยุธยาค่อยๆ ลดความสำคัญลง เพราะมีอุปสรรคนานาประการ  เช่น การเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าและการต่างประเทศของพระมหากษัตริย์อยุธยา  และความผันผวนทางการเมืองในราชสำนัก ประกอบกับสภาวการณ์ทางการค้าในยุโรปและเอเชียตะวันออกเปลี่ยนแปลง สถานการณ์ทางการเงินของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาไม่อำนวยและมีปัญหา  ฮอลันดาจึงค่อยๆถอนตัวจากการค้าที่กรุงศรีอยุธยา


อินโดนีเซีย – ฮอลันดา



ฮอลันดา (ดัช) สนใจประเทศอินโดนีเซียเนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของเครื่องเทศที่มีคุณภาพ ต้องการผูกขาดการค้าเครื่องเทศและกาแฟ จากการแข่งขันทางการค้าในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศตวรรษที่ ๑๖ – ๒๐ ทำให้ รัฐบาลฮอลันดาร่วมทุนกับบริษัทของการค้าใหญ่ตามเมืองท่าต่างๆ ของฮอลันดา ก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (V.O.C.) ขึ้นในวันที่ ๒๐ มีนาคม ค.ศ. ๑๖๐๒ ดำเนินกิจการในรูปแบบกิจการรัฐวิสาหกิจ ตั้งสถานีการค้าขึ้นที่บันทัม เนื่องจากนโยบายของผู้ปกครองบันทัมยินดีต้อนรับพ่อค้าต่างชาติ พ่อค้าคนแรกของดัชคือ สตีเวน แวนเดอร์ ฮาเกน ได้ทำสัญญาผูกขาดการค้ากานพลู ในนามของพ่อค้าสมาคมชาวดัช การค้าในแต่ละเมืองจะจัดส่งเรือออกไปอย่างเป็นอิสระ โดยผลกำไรและขาดทุนจะมาเฉลี่ยทั่วกัน ในที่สุด V.O.C. ก็เข้าควบคุมโรงเก็บสินค้าทั้งหมดที่ฮอลันดาตั้งขึ้นเช่นที่เกาะเทอร์เนตใน หมู่เกาะโมลุกะ บันดา บันทัม และกรีสิกริมฝั่งชวาเหนือ ปัตตานี ยะโฮร์บนแหลมมาลายูและอาเจะห์ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสุมาตรา  พ.ศ. 2145  เป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าปกครองอินโดนีเซียในฐานะอาณานิคมของดัชท์ ในช่วงแรก บริษัท VOC ใช้วิธีเข้าไปมีอิทธิพลเหนือผู้ปกครองท้องถิ่น ต่อมา ใน พ.ศ. 2342 หลังจาก รัฐบาลฮอลันดาเข้าควบคุมกิจการบริษัท VOC รัฐบาลฮอลันดาก็ได้เข้าปกครองอินโดนีเซียในรูปแบบอาณานิคม
สภาพการเมืองของอินโดนีเซียก่อนการเข้ามาของฮอลันดา การเมืองแตกแยกเป็นรัฐเล็กๆ สุลต่านเป็นประมุขสูงสุดในการปกครองและศาสนา ทำให้ประชาชนเคารพและจงรักภักดีต่อสุลต่าน เนื้อที่พื้นดินของอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่ไปด้วยป่าดงดิบหนาแน่น ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินมีการขึ้นเรื่อยๆ จากการระเบิดของภูเขาไฟ เช่น บนเกาะชวานั้นเต็มไปด้วยภูเขาไฟ ภายหลังจากการระเบิด ลาวาของภูเขาไฟมีแร่ธาตุที่ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
ค.ศ. ๑๘๑๖ อังกฤษคืนชวาให้กับดัช  ดัชกลับเข้ามาปกครองอินโดนีเซียอีกครั้ง ซึ่งสถานะทางการเงินยังทรุดหนัก การค้าในหมู่เกาะอินโดนีเซียไม่มั่นคง รัฐบาลฮอลันดาจึงเข้าปกครองชวา และหมู่เกาะเครื่องเทศอย่างใกล้ชิด และพยายามแทรกแซงการปกครองภายใน ทำให้อินโดนีเซียตั่งแต่ ค.ศ. ๑๘๑๖   ถึงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ต้องตกเป็นอาณานิคมของฮอลันดาอย่างสมบูรณ์
        

แหล่งอ้างอิง
ดี.อี.จี. ฮอลล์. ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : สุวรรณภูมิ อุษาคเนย์ภาคพิสดาร เล่ม ๑
เล่ม ๒. ในมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ.
ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์. ๒๕๔๙.
ภูวดล ทรงประเสริฐ. อินโดนีเซีย : อดีตและปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
             มหาวิทยาลัย. ๒๕๓๙.
ศิวพร ชัยประสิทธิกุล, ผศ. ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอดีตถึงปัจจุบันโดยสังเขป.
             พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ๒๕๕๐.
“_____________”. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายหลังการเข้ามาของชาติตะวันตกถึงภายหลัง
             สงครามโลกครั้งที่ ๒. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ๒๕๓๐.
สถานเอกอัคราชทูตอินโดนีเซีย. อินโดนีเซียโดยสังเขป. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : สถาณเอกอัคราชทูต
             อินโดนีเซีย, ๒๕๒๒.


Modernism Post Modern


Modernism
ความคิดสมัยใหม่ (Modernism)             
      แนวคิดใหม่ทัน สมัย นักปราชญ์หรือนักคิดทางสังคมบางคนกล่าวบอกว่า ควรนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เพราะเป็นยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance) แต่นักสังคมวิทยาส่วนใหญ่เห็นว่า แนวคิดใหม่ทันสมัย (Modernism) เป็นยุคประวัติศาสตร์ของสังคมยุโรปตะวันตก ที่เกิดการวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เพราะในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 เป็นยุคที่สนใจศึกษาค้นคว้าปรากฏการณ์ธรรมชาติแบบวิทยาศาสตร์ (Scientism) มาช่วยแก้ปัญหาสังคมทั้งหลายที่เกิดขึ้น แล้วส่งผลมีอิทธิพลต่อการศึกษาสังคมวิทยาแบบวิทยาศาสตร์ของคองต์ในเวลาต่อมา (Comte’s positivism)


    
        
         ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 จึงถือได้ว่าเป็นยุคความคิดใหม่ทันสมัย  (Modernism) อันหมายถึงยุคสมัยให้ความสนใจในเรื่องศิลปะ วรรณคดี วิทยาการ สถาบัน  เหตุผล  การศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์  รูปแบบของชีวิต ความจริงของชีวิตบนฐานของความเจริญเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก กล่าวคือเป็น ช่วงเวลาแห่งความเจริญทางวัตถุ ความมั่นคงทางสังคม และความรู้เข้าใจตนเอง (Material progress, social stability and self-realization) ในยุโรปตะวันตก มีอังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส  อิตาลี เป็นต้น แม้มีปัจจัยต่างๆ มากมายที่ทำให้เกิดสมัยใหม่ ปัจจัยสำคัญเหล่านี้ คือ ความจริง (Truth) เหตุผล (Rationality) วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) ผลของอุตสาหกรรม (Emergence of capitalism) การแผ่อำนาจทางตะวันตก (Western imperialism) การแพร่กระจายความรู้ และอำนาจทางการเมือง (Spread of literature and political power) การขับเคลื่อนทางสังคม (Social mobility)    เป็นสาเหตุสำคัญสนับสนุนส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพัฒนาสังคมโลก ที่เรียกกันว่า สมัยใหม่ความทันสมัย (Modernism)” เพราะผลของความเจริญทางการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม และการขับเคลื่อนทางสังคม ทำให้มนุษย์ต้องการรู้เข้าใจตนเองและสังคมมากยิ่งขึ้นตามลำดับ ทำให้ต้องมาคิดใหม่ทำใหม่ เพื่อความถูกต้องดีงามแบบสากล แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมโลกร่วมกัน เพื่อความรู้เข้าใจใหม่ร่วมกัน จึงขอลำดับเหตุการณ์การวิวัฒนาการแนวความคิดใหม่ทันสมัย



Post Modern

      
      

      Post Modern  คือแนวความคิดที่มาหลังจากยุค modern ซึ่งเป็นช่วงหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่อะไรต่างๆถูกกำหนดอยู่ในหลักเกณฑ์และทฤษฏี แต่ยุค postmodern เป็นยุคที่ปฏิเสธสิ่งเดิมๆในยุคmodern โดยเน้นเสรีภาพและอิสระของบุคคล ไม่เชื่อในโลกของความจริง ไม่เชื่อเรื่องความเป็นสากล เพราะเชื่อว่าแต่ละคนแต่ละวัฒนธรรมนั้นมีเหตุผลของตัวเอง ไม่ควรจะให้ใครมาตัดสินว่าอันไหนสิ่งใดดีที่สุด แล้วคิดว่าสิ่งนั้นต้องดีสำหรับคนอื่นด้วย ดังนั้นจึงไม่คิดว่าสังคมที่คิดว่าเป็นสากลนั้นไม่มีจริง     Post Modern เป็นยุคหลัง Modern จึงทำให้เกิดการถวิลหา คลาสิค เป็นยุคที่นำเอา ความแข็งกร้าว ตรงไปตรงมา สัจจะแห่งเนื้อแท้ มารวมกับ ความนุ่มนวล อ่อนช้อย ลวดลายมากมาย การปกปิดสัจจะแห่งเนื้อแท้มาก+น้อย = Post Modernง่ายๆ เอาตำรา The Seven Lamp for Architecture (เป็นตำราทางสถาปัตยกรรมเล่มแรกของโลก) รวมกับ Theory ของ บาวเฮ้าส์ มารวมกันก็ได้ Post Modern



         หลักการโดยทั่วไปของ Post Modern คือการสร้างรูปแบบงานออกแบบใหม่ที่ไม่ใช่ทั้ง Modern และ รูปแบบ Classic แต่กลับเป็นการสร้างลูกผสมระหว่างทั้งสองรูปแบบขึ้นมาดังจะ เห็นได้จากผลงานส่วนใหญ่ของรูปแบบนี้จะมีการสร้างชิ้นงานแบบ Modern ที่เรียบง่าย และมีรูปทรงที่โดดเด่น เตะตา แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีการอ้างอิงถึงรายละเอียด หรือกลิ่นอายของงาน Classic ไปด้วยในตัว  รูปแบบ Post Modern ก็มักจะมีการใช้สีสรรที่สดใส หรือวัสดุที่แปลกใหม่ ตลอดจนรูปทรงที่แปลกตา เข้ามาใช้ในงานด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอาคาร สถาปัตยกรรม ทำให้เรามักจะได้เห็น อาคารรูปทรงแปลกประหลาด หรือมีสีสรร สดใสตัดกับอาคารสี่เหลี่ยมทึบตันรอบข้าง โผล่มาอย่าง น่าประทับใจ



ลักษณะศิลปะ Post modern
       1.การปฏิเสธศูนย์กลาง ซึ่งก็คือ การปฏิเสธอำนาจครอบงำ เน้นชายขอบซอกมุม เพื่อปลดเปลื้องการครอบงำทางเวลา เทศะและอัตลักษณ์ที่ยังหลงเหลืออยู่ ดังปรากฏในสถาปัตยกรรมจำนวนมากที่เลิกเน้นศูนย์กลาง
     2.การปฏิเสธความเป็นเอกภาพ หรือ องค์รวม ภาพเขียนหรือสถาปัตยกรรมจึงไม่จำเป็นต้องจบสมบูรณ์ อาจเป็นหลายเรื่องซ่อนเร้นกัน
     3. Post modern คัดค้านโครงสร้าง ระเบียบ ลำดับ ไม่ยึดติดกับโครงสร้างเพราะถือได้ว่าเป็นแนวคิดหลังโครงสร้างนิยม
     4. Post modern ปฏิเสธจุดเริ่มต้น จึงปฏิเสธประวัติศาสตร์แต่โหยหาอดีต เนื่องจากความไม่มั่นคงทางอัตลักษณ์ อดีตของพวกเขาไม่ใช่ประวัติศาสตร์ แต่เป็นการทำลายประวัติศาสตร์เพราะมันถูกนำมาอยู่ในปัจจุบันหรือหลุดไปจากบริบทอย่างสิ้นเชิง
    ความคิดโพสต์โมเดิร์นเป็นทั้งการวิพากษ์และการตั้งคำถามที่มีต่อโลกแบบโมเดิร์นของตะวันตก ซึ่งมองว่าการสร้างสังคมสมัยใหม่ของโลกตะวันตกที่ได้กำเนินมานั้นไม่ได้พัฒนาความสุข การหลุดพ้น หรือชีวิตที่เป็นเหตุเป็นผล อย่างที่กล่าวอ้างกัน เป็นเพียงการสร้างวาทกรรมผ่านภาษา เพียงเพื่อครอบงำสังคมอื่นเพื่อชิงความได้เปรียบในหลายปัจจัย


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

moza-nuchy.blogspot.com/



เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส พ.ศ. 2551

เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส พ.ศ. 2551 


   
    เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส พ.ศ. 2551 เป็นเหตุการณ์ที่พายุหมุนนาร์กิสอันเป็นพายุลูกแรกตามฤดูพายุกระหน่ำมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ พ.ศ. 2551 พัดผ่านดินแดนแถบมหาสมุทรดังกล่าวเมื่อปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งก่อภาวะมหันตภัยทุกบริเวณโดย เฉพาะในพม่าปรากฏรายงานผู้เสียชีวิตกว่าสองหมื่นคนและผู้สูญหายกว่าสี่หมื่นคน อย่างไรก็ดีรัฐบาลพม่าไม่ได้ใส่ใจแก้ไขสถานการณ์เท่าที่ควร ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์และความพยายามจากหลายฝ่ายที่จะเปลี่ยนใจรัฐบาลพม่า

พม่า
  
   
                                                                   
       หลังจากที่พม่าเผชิญกับพายุหมุนนาร์กิสแล้ว ทางการพม่ารายงานว่า อัตราการตายในประเทศมีประมาณห้าหมื่นคน และผู้คนพลัดหลงประมาณสี่หมื่นหนึ่งพันคนสำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่าผู้คนในพม่ากว่าสองล้านถึงสามล้านคนกลายเป็นผู้ไร้บ้าน นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า อาคารถูกทำลายหลายแสนหลังในเมืองลบุตร เขตอิรวดี สำหรับจำนวนดังกล่าว สำนักข่าวแห่งพม่ารายงานว่า ร้อยละเจ็ดสิบห้าของอาคารพังทลาย ร้อยละยี่สิบหลังคาถูกซัดหายไป และที่เหลือยังอยู่รอดปลอดภัย

                                          

 สภาพความรุนแรง
             เมื่อเทียบกับเหตุการณ์คลื่นสึนามิถล่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2547 แล้ว ถือว่าเหตุการณ์พายุนาร์กิสนี้เป็นพิบัติภัยที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติพม่านายแอนดริว เคิร์กวูด (Andrew Kirkwood) ผู้อำนวยการองค์กรการกุศลแห่งสหราชอาณาจักรเพื่อการพิทักษ์เยาวชน (British charity Save The Children) แถลงว่า ตนกำลังพิเคราะห์จำนวนผู้เสียชีวิตห้าหมื่นรายและผู้ไร้บ้านอีกกว่าหลายล้านราย โดยเห็นว่าเป็นความรุนแรงที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติพม่า ซึ่งจำนวนดังกล่าวอาจมากกว่าจำนวนผู้เสียหายในเหตุการณ์สึนามิที่ประเทศศรีลังกาว่าหลายเท่าตัวเป็นที่คาดกันว่า พายุหมุนนาร์กิสครั้งนี้อาจส่งผลกระทบรุนแรงที่สุด ในบรรดาเหตุการณ์ที่เกิดจากพายุหมุนด้วยกันเองนับแต่ บังคลาเทศถูกพายุหมุนถล่มใน พ.ศ. 2534 ซึ่งปรากฏคนตายถึงหนึ่งแสนสามหมื่นแปดพันคน และอีกหนึ่งหมื่นคนเป็นอย่างน้อยถึงแก่ความตายที่ดินแดนสามเหลี่ยมในเมืองโพคัล (Bogale)ทูตต่างประเทศประจำนครย่างกุ้งนายหนึ่งให้สัมภาษณ์แก่สำนักข่าวรอยเตอส์ซึ่งขอให้พรรณนาเหตุการณ์พายุหมุนาร์กิสถล่มพม่าว่า รอบกายของตนนั้นดูประหนึ่งซากที่หลงเหลือจากภาวะสงคราม ปฏิกูลที่ทะลักนองทั่วนครทำให้เกิดภาวะน้ำเน่าท่วม (waste flood) ซึ่งส่งผลให้นาข้าวเสียหายหลายแห่งเจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติรายหนึ่งให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าว่า ถือเป็นเหตุการณ์ที่ย่ำแย่เหตุการณ์หนึ่ง บ้านเรือนเกือบทั้งปวงพังพินาศ ประชาชนต่างอกสั่นขวัญผวา เจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติอีกรายหนึ่งให้สัมภาษณ์ว่า ดินดอนสามเหลี่ยม (delta) แห่งลุ่มน้ำอิรวดีได้รับผลกระทบหนักมาก ไม่แต่เพราะลมและฝน แต่ยังเพราะความกำเริบของพายุอีกด้วย



             หนังสือพิมพ์ เดลีเทเลกราฟ” (Daily Telegraph) แห่งสหราชอาณาจักร ฉบับวันที่ 5 พฤษภาคม 2551 รายงานว่า ราคาโภคภัณฑ์ในประเทศพม่าอาจได้รับผลกระทบเพราะเหตุการณ์พายุครั้งนี้ด้วยซึ่งวันที่ 7 พฤษภาคม 2551 นายวรเดช วีระเวคิน รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศของไทย แถลงโดยอ้างถึงรายงานของนายบรรสาน บุนนาค เอกอัครราชทูตไทยประจำนครย่างกุ้ง ว่าราคาโภคภัณฑ์ในพม่าได้สูงขึ้นสองถึงสามเท่าตัวแล้ว โดยสภาพแวดล้อมในนครได้รับความเสียหายหนัก ห้างร้านส่วนใหญ่ปิดกิจการ เครื่องอุปโภคบริโภคมีฝืดเคือง และโดยรวมแล้วความเป็นอยู่ของผู้คนในนครค่อนข้างกันดาร

การจัดการสถานการณ์ของรัฐบาลพม่า
             



            ในการนี้ รัฐบาลทหารพม่าได้ประกาศให้เขตย่างกุ้ง เขตอิรวดี เขตหงสาวดี ตลอดจนรัฐมอญ และรัฐกะเหรี่ยงเป็นเขตประสบพิบัติภัยอย่างไรก็ดี รัฐบาลทหารพม่าหาได้มีและดำเนินมาตรการใด ๆ เพื่อแก้ไข เยียวยา และฟื้นฟูความเลวร้ายในบ้านเมืองอย่างเหมาะสม หนังสือพิมพ์ไทยรัฐรายงานว่า ชาวพม่าจำนวนมากโกรธแค้นรัฐบาลที่ไม่มีการเตือนภัยที่ดีพอ และสมาคมเพื่อการช่วยเหลือนักโทษการเมืองซึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานครรายงานว่า เจ้าหน้าที่พม่ายิงประหารนักโทษแห่งเรือนจำอินเส่งในขณะที่ฉวยจังหวะจลาจลจากพายุเตรียมหลบหนี ปรากฏนักโทษตายสามสิบหกคน และบาดเจ็บอีกประมาณเจ็ดสิบคน อย่างไรก็ดี ทางการพม่าปฏิเสธรายงานทั้งสองด้วยเหตุนี้เอง นานาชาติจึงวิตกว่า ศพนับแสนที่รัฐบาลพม่าไม่จัดการแต่ปล่อยทิ้งไว้ให้เน่าอืดยังหนทางตามยถากรรมนั้น จะนำมาซึ่งโรคระบาดขนานใหญ่ และอาจลุกลามใหญ่หลวงได้     วันที่ พฤษภาคม 2551 นางลอรา บุช คู่สมรสของนายจอร์จ วอล์กเกอร์ บุช ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวโจมตีรัฐบาลทหารพม่าว่าล้มเหลวในการแจ้งเตือนภัยและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน ซึ่งร้อยตำรวจเอกนิติภูมิ นวรัตน์ นักวิเคราะห์สถานการณ์ต่างประเทศ ให้ความเห็นต่อการกระทำของนางลอรา บุช ว่า เป็นเพียงเกมการเมืองที่ดำเนินอยู่บนน้ำตาของผู้ทุกข์ยาก อีกประการหนึ่ง สหรัฐอเมริกาเองก็ล้มเหลวในการแจ้งเตือนภัยและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในเหตุการณ์พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนาพัดถล่มสหรัฐอเมริกาเมื่อวันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2548 เช่นกัน

การบรรเทาทุกข์จากนานาชาติสู่พม่า


      วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ผู้แทนของรัฐบาลทหารพม่าที่รัฐนิวยอร์กได้ร้องขอความช่วย เหลือจากสหประชาชาติอย่างเป็นทางการสำหรับ  ความเสียหายจากพายุหมุนนาร์กิสในประเทศตน  ซึ่งนานาชาติล้วนพร้อมสนองอย่างเต็มที่อย่างไรก็ดี รัฐบาลพม่าแสดงทีท่าไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากนานาชาติ ซึ่งหลายประเทศได้เตรียมบริจาคเงินและเสบียงทั้งอาหารและยา ตลอดจนข้าวของที่จำเป็นอื่น ๆสำหรับประเทศไทยเองได้เตรียมบริจาคเงินหนึ่งแสนดอลลาร์สหรัฐเวชภัณฑ์สามสิบตัน และเสบียงอาหารสิบสองตันจากสภากาชาดไทย ซึ่ง นายไชยา สะสมทรัพย์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขยังได้จัดส่ง เวชภัณฑ์ไปช่วยเหลือพม่าอีกสิบสี่รายการ มูลค่ากว่าสิบล้านบาท ตามคำสั่งของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ รัฐบาลไทยจะได้จัดส่งคณะแพทย์และพยาบาลเข้าไปช่วยเหลือยี่สิบ คณะ กับทั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็วในการปราบปรามโรคระบาดอีกยี่สิบหน่วย โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า "ถ้าพม่าไฟเขียวอนุญาตให้เข้าไปช่วยเหลือ ก็ได้รับความอนุเคราะห์จากกองทัพอากาศ โดยใช้เครื่องบินซี-130 ขน  ไป ไทยจะพรวดพราดไปไม่ได้ ต้องแจ้งให้ทางโน้นรับทราบก่อน ซึ่งต่อมาในวันที่ 7 พฤษภาคม 2551 เครื่องบินลำดังกล่าวพร้อมด้วยบริวารได้รับอนุญาตให้ลงจอด ณ นครย่างกุ้ง โดยได้บรรทุกน้ำดื่มและอุปกรณ์การก่อสร้างขนาดเบาเป็นการเพิ่มเติมไปด้วย


แหล่งข้อมูล
           ชาวพม่าตายนับแสนเหตุพายุไซโคลนถล่ม - วิกิข่าว (อังกฤษ)
         ชาวพม่าตายสามร้อยห้าสิบเอ็ดรายเหตุพายุไซโคลนถล่ม - วิกิข่าว (อังกฤษ)
         รายงานความเสียหายโดยสถานีโทรทัศน์บีบีซี (อังกฤษ)
         ทิศทางการเคลื่อนไหวของพายุหมุนนาร์กิส (อังกฤษ)

ประเทศอินเดีย




ประเทศอินเดีย


ธงชาติประเทศ

แผนที่ของประเทศ

แผนที่ทางภูมิศาสตร์

ประเทศอินเดีย ( India; ฮินดี: भारत) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; ฮินดี: भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดแปดร้อยภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา มีบังกลาเทศล้อมรอบทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ ของโลก                                   

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดีย                                                                                   การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดีย แบ่งอกเป็น สมัยโบราณ สมัยกลาง และสมัยใหม่ แต่ละยุคสมัยจำมีการแบ่งเป็นยุคสมัยย่อยตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์ที่มีอิทธิพลเหนืออินเดียขณะนั้น     
ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ                                                                                                                                            
ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณตั้งแต่สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยมีพวกดราวิเดียน เมื่อ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งอารยธรรมแห่งนี้ล่มสลายลงเมื่อ 1,500 ปีก่อนคริสต์สักราชเมื่อชนชาวอารยันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและก่อตั้งอาณาจักรหลายอาณาจักรในภาคเหนือของอินเดีย นับว่าเป็นช่วงเวลาที่การเริ่มสร้างสรรค์อารยธรรมอินเดียที่แท้จริง มีการก่อตั้งศาสนาต่าง ๆ เรียกว่า สมัยพระเวท (1,500 – 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช) สมัยมหากาพย์ (900 – 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ต่อมาอินเดียรวมตัวกันในสมัยราชวงศ์มคธ (600 – 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และมีการรวมตัวอย่างแท้จริงในสมัยราชวงศ์เมารยะ (321 - 184 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ระยะเวลานี้เป็นเวลาที่อินเดียเปิดเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่าง ๆ ต่อมาราชวงศ์เมารยะล่มสลายอินเดียก็เข้าสู่สมัยแห่งการแตกแยกและการรุกรานจากภายนอก จากพวกกรีกและพวกกุษาณะ รยะเวลานี้เป็นสมัยการผสมผสานทางวัฒนธรรมก่อนที่จะรวมเป็นจักรวรรดิได้อีกครั้งใน ค.ศ. 320 โดยราชวงศ์คุปตะ (สมัยคุปตะ ค.ศ. 320 – ค.ศ. 535)                                                                     
ความเจริญรุ่งเรื่องสมัยอินเดียโบราณ






ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยกลาง                                                                                                                                                               อินเดียเข้าสู่สมัยกลาง ค.ศ. 535 – ค.ศ. 1525 สมัยนี้เป็นช่วงเวลาของความวุ่นวายทางการเมือง และการรุกรานจากต่างชาติ โดยพาะชาวมุสลิม สมัยกลางจึงเป็นสมัยที่อารยธรรมมุสลิมเข้ามามีอิทธิพลในอินเดีย สมัยกลางแบ่งได้เป็นสมัยความแตกแยกทางการเมือง (ค.ศ. 535 – ค.ศ. 1200) และสมัยสุลต่านแห่งเดลลี (ค.ศ. 1200 – ค.ศ. 1526)




ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่                                                                                                                           พวกโมกุลได้ตั้งราชวงศ์โมกุลถือว่าสมัยโมกุล (ค.ศ. 1526 – ค.ศ. 1857) เป็นการเริ่มต้นสมัยใหม่จนกระทั่งอังกฤษเข้าปกครองอินเดียโดยตรงใน ค.ศ. 1585 จนถึง ค.ศ. 1947 อินเดียจึงได้รับเอกราชจากรปะเทศอังกฤษ ภายหลังได้รับเอกราชและถูกแบ่งออกเป็นประเทศต่าง ๆ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน และบังคลาเทศ (ค.ศ. 1971) ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมเปอร์เซียและวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในสังคมอินเดีย ขณะที่ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูได้ยึดมั่นในศาสนาของตนเองมากขึ้น และเกิดความแตกแยกในสังคมอินเดีย ดังนั้นประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่ สามารถแบ่งได้เป็นสมัยราชวงศ์โมกุล (ค.ศ. 1526 – ค.ศ. 1858) สมัยอังกฤษปกครองอินเดีย (ค.ศ. 1858 – ค.ศ. 1947)   อย่างไรก็ตามสมัยที่วัฒนธรรมมุสลิมเข้ามามีอิทธิพลในอารยธรรมอินเดียเรียกรวมว่า สมัยมุสลิม (ค.ศ. 1200 – ค.ศ. 1858) หมายถึง รวมสมัยสุลต่านแห่งเดลฮีกับสมัยราชวงศ์โมกุล
  

                                                                 

อินเดียในปัจจุบัน
     การปกครองของอินเดียเป็นระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา แยกศาสนาออกจากการเมือง แบ่งอำนาจการปกครองเป็นสาธารณรัฐ (Secular Democratic Republic with a parliamentary system) แบ่งเป็น ๒๘ รัฐ และดินแดนสหภาพ (Union Territories) อีก ๗ เขต การปกครองของอินเดียมีรัฐธรรมนูญเป็นแม่บท มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ และประมุขของฝ่ายบริหารตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ แต่อำนาจในการบริหารที่แท้จริงอยู่ที่นายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายประนาบ มุกเคอร์จี (Pranab Mukherjee) เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ในฐานะประธานาธิบดีคนที่ ๑๓ ส่วนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนายมานโมฮัน ซิงห์ (Manmohan Singh) ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมา ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ (เป็นสมัยที่ ๒)


    อินเดียมีความภาคภูมิใจในความเป็นประเทศ ประชาธิปไตยระบบรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วยจำนวนประชากรกว่า ๑.๒๒ พันล้านคน  โดยมีผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั่วไปครั้ง ล่าสุดเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม ๒๕๕๑ ถึง ๗๐๐ ล้านคน ซึ่งถือเป็นรากฐานที่สำคัญของการเมืองการปกครองของอินเดียนับตั้งแต่ได้รับเอกราชมาจนถึงปัจจุบัน






บุคคลที่โลกต้องจารึกไว้  ที่เป็นคนอินเดีย

 มหาตมา คานธี